Physical sunscreen และ Chemical sunscreen ต่างกันอย่างไร

ประเภทของครีมกันแดดที่เราใช้ ถ้าแบ่งจากส่วนผสมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ก็คือ แบบ Physical และ Chemical ซึ่งทั้งสองแบบนี้ก็มีลักษณะของเนื้อครีม และวิธีการในการป้องกันแสงแดดที่แตกต่างกัน
ดังนั้นหากจะใช้ครีมกันแดดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เรามาทำความรู้จักกับครีมกันแดดทั้งสองอย่างนี้ว่ามีลักษณะ และข้อดีข้อเสีย ต่างกันอย่างไรบ้าง
Physical Sunscreenป้องกันผิวของคุณโดยการสะท้อนและบล็อครังสีUV ออกจากผิว
ประกอบด้วยสาร 2 ชนิดสำคัญๆคือ ให้ดูที่ส่วนผสมข้างหลอดหรือกล่องใส่ผลิตภัณฑ์
✔Zinc Oxide สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVB และ UVA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✔Titanium Dioxide สารตัวนี้จะป้องกันรังสี UVB ได้ รวมถึง UVA บางส่วน (UVA-I)
ข้อดี
➡ทาเสร็จไม่ต้องรอ ออกแดดได้เลย
➡ประสิทธิภาพไม่ได้ลดลงและมีความคงทนต่อแสงแดดสูงอยู่ได้นานกว่าก่อนจะต้องทาซ้ำ
➡ครีมกันแดดแบบไม่ใช้สารเคมีแต่มีความเสถียรสูงเหมาะกับคนผิวแพ้ง่าย
➡เพราะใช้หลักการสะท้อนแสงและความร้อนออกไม่เก็บความร้อนจึงอ่อนโยนไม่รู้สึกระคายเคืองผิว
ข้อเสีย
➡หลุดออกง่าย เมื่อมีเหงื่อหรือโดนน้ำ ดังนั้นต้องทาซ้ำบ่อยๆ
เนื้อครีมเป็นคราบขาวค่อนช้างชัด โดยเฉพาะถ้าทาบนผิวเหลืองหรือผิวแทน
Chemical Sunscreen ป้องกันผิวของคุณโดยการดุดซึมรังสีUVมากักเก็บไว้ไม่ยอมให้ผ่านไปทำร้ายผิวหนัง
✔ส่วนประกอบสำคัญๆจะเป็นสารเคมีหลากหลายชนิดที่คงทนต่อแสงแดดสูง
ข้อดี
➡เนื้อบางเบา เกลี่ยง่าย ทาง่าย เหมาะสำหรับการใช้ทั่วไป
➡ใช้ปริมาณที่น้อยกว่าครีมกันแดดแบบ physical และไม่มีความเสี่ยงจากการที่รังสี UV จะเล็ดลอดเข้ามาได้
ข้อเสีย
➡เพราะการกักเก็บความร้อนไว้ที่ผิวมีโอกาสสูงที่จะเกิดจุงด่างดำและริ้วรอยรวมถึงมีโอกาสทำให้ผิวแพ้แดงง่ายกว่า
➡ต้องรออย่างน้อย 20 นาทีให้สารเคมีเซ็ทตัวก่อนออกแดด
➡เนื่องจากมีสารเคมีจำนวนมากกว่ามีโอกาสระคายเคืองง่าย
➡มีโอกาสอุดตันรูขุมขนมากกว่า จึงไม่เหมาะกับคนผิวมัน
เป็นเรื่องที่ห้ามมองข้ามเลยละค่ะ สำหรับการศึกษาส่วนประกอบสำคัญๆของผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิว จะสวยทั้งที่ ก็ต้องฉลาดเลือกและฉลาดใช้ จริงมั้ยละคะ